กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 เรื่องการวางแผนทางการเงิน
👉สาระสำคัญ การวางแผนทางการเงินเป็นเครื่องมือที่ช่วยเตรียมความพร้อมและนำชีวิตไปสู่ความมั่นคงทางการเงิน
ซึ่งควรเริ่มจากการปลูกฝังนิสัยการออมและการใช้เงินอย่างสมเหตุสมผลตั้งแต่วัยเด็กเพื่อบ่มเพาะวินัยทางการเงินไว้ก่อน
การวิเคราะห์ลักษณะผู้เรียน (Analyze Leaner Characteristics)
ผู้เรียนระดับมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนรักดี(สมมติ)ส่วนใหญ่ยังไม่ค่อยมีความสนใจในเรื่องการวางแผนการเงิน และยังไม่มีความรู้ในเรื่องการวางแผนทางการเงินที่ถูกต้อง
ดังนั้นจึงมีความจำเป็นที่จะต้องบ่มเพาะวินัยทางการเงินและการใช้เงินอย่างสมเหตุสมผลเอาไว้ก่อน
เพื่อสร้างเจตคติที่ดีต่อการวางแผนทางการเงินในอนาคต
➽ลักษณะทั่วไป
ผู้เรียนที่อยู่ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6
เป็นวัยที่จะเริ่มมีการวางแผนด้านการเรียน
และการทำงานมากขึ้น
ฉะนั้นการส่งเสริมความรู้ในเรื่องการวางแผนทางการเงินที่ถูกต้องให้กับผู้เรียนนั้นถือเป็นการเตรียมความพร้อมที่ดีในอนาคต
➽ลักษณะเฉพาะ
-ทักษะพื้นฐานเกี่ยวกับความรู้และความสำคัญของการวางแผนทางการเงิน
-เข้าใจขั้นตอนวิธีการวางแผนทางการเงินที่ถูกต้อง
-ทัศนคติของผู้เรียนต่อวิธีการวางแผนทางการเงิน
การกำหนดวัตถุประสงค์ (State Objectives)
➽ด้านพุทธพิสัย
-ผู้เรียนมีความรู้และเข้าใจเกี่ยวกับความสำคัญของการวางแผนทางการเงิน
-ผู้เรียนมีความรู้และเข้าใจขั้นตอนการวางแผนทางการเงินที่ถูกต้อง
➽ด้านจิตพิสัย
-ผู้เรียนมีทัศนคติที่ดีต่อวิชาที่เรียน
-ผู้เรียนทีทักษะกระบวนการคิด วิเคราะห์ที่ดี
-ผู้เรียนให้ความร่วมมือในการทำงานและใฝ่เรียนรู้
➽ด้านทักษะพิสัย
-ผู้เรียนสามารถนำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน
-ผู้เรียนสามรถทำงานกลุ่มร่วมกับผู้อื่นได้
-ผู้เรียนมีการวางแผนทางการเงินที่ดี
การดัดแปลงหรือออกแบบสื่อใหม่ (Select, Modify, of design Materials)
➽การเลือกสื่อที่มีอยู่แล้ว
-หนังสือเรียนเรื่องการวางแผนทางการเงิน
-เครื่องฉายโปรเจคเตอร์
-คอมพิวเตอร์
-แผ่นใสและเครื่องฉายแผ่นใส
➽สื่อประเภทเทคนิคหรือวิธีการ
-การจัดการเรียนรู้แบบใช้คำถาม
-การอภิปรายกลุ่ม
-การคำนวณเงินออมเพื่อมีไว้ใช้หลังเกษียณ
➽การปรับปรุง หรือดัดแปลงสื่อที่มีอยู่แล้ว
นำเนื้อหาในหนังสือมาเชื่อมโยงความสัมพันธ์กับสื่อนำเสนอที่มีอยู่แล้วเพื่อให้ง่ายต่อการเข้าใจ
โดยการใช้เครื่องโปรเจคเตอร์ในห้องเรียนฉายเนื้อหาบทเรียนให้ผู้เรียนได้เข้าใจและเพิ่มความสนใจมากขึ้น
➽การออกแบบสื่อใหม่
ทำการสรุปเนื้อหาเรื่องการวางแผนทางการเงินแบบย่อ
เพื่อนำไปจัดทำสื่อวิดีโอสั้น เรื่องการวางแผนทางการเงิน ที่มีทั้งภาพ,เสียง
และตัวการ์ตูนเพื่อดึงความสนใจของผู้เรียน
โดยเนื้อหานั้นต้องมีความชัดเจนและเข้าใจง่าย ไม่ใช้คำที่ซับซ้อนหรือกำกวม
การใช้สื่อ (Utilize Materials)
-ศึกษารูปแบบและวิธีการใช้สื่ออย่างละเอียด
-เตรียมอุปกรณ์การใช้สื่อให้พร้อม
-ก่อนที่จะเข้าสู่บทเรียน ควรมีการแนะนำบทเรียนเบื้องต้นให้ผู้เรียนทราบ เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมให้กับผู้เรียน
-มีการชี้แจงจุดประสงค์ของการเรียนให้ผู้เรียนทราบทุกครั้ง
การกำหนดการตอบสนองของผู้เรียน (Require Learner Response)
ในการเรียนการสอนทุกครั้งครูจะใช้คำถามในการส่งเสริมกิจกรรมการเรียนการสอนเสมอ
เป็นการสังเกตพฤติกรรมของผู้เรียนด้วยว่ามีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับเนื้อหาบทเรียนมากน้อยแค่ไหน
นอกจากนี้ยังเป็นการกระตุ้นให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการเรียนมากขึ้น
ซึ่งช่วยให้ผู้เรียนเข้าร่วมกิจกรรมได้อย่างมีประสิทธิภาพ
การประเมิน (Evaluation)
➽การประเมินผลกระบวนการเรียนการสอน
ผู้สอนจะประเมินด้วยการสังเกตการมีส่วนร่วมและความสนใจของผู้เรียน
เพื่อดูว่าผู้เรียนให้ความสนใจในกระบวนการเรียนการสอนมากน้อยเพียงใด
และประเมินด้วยการใช้คำถามเพื่อตรวจสอบความรู้และความเข้าใจของผู้เรียนเกี่ยวกับเนื้อหา
➽การประเมินสื่อและวิธีการสอน
ประเมินสื่อและวิธีการสอนได้จากการสอบถามผู้เรียนว่าสื่อที่นำมาใช้มีความเหมาะสมมากน้อยเพียงใด
และสิ่งไหนที่เป็นปัญหาสำหรับผู้เรียนก็ต้องนำมาปรับปรุงแก้ไข
โดยต้องประเมินให้ครอบคลุม เช่น สี,ขนาดตัวหนังสือ,ความคมชัดของสื่อ หากมีปัญหาผู้สอนจะต้องแก้ไขเพื่อให้สื่อนั้นมีประสิทธิภาพมากขึ้น
➽การประเมินผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียน
-การทำงานที่ได้รับมอบหมาย
-การทำแบบทดสอบทั้งก่อนเรียนและหลังเรียน
สุดท้ายนี้....หลักการสำคัญของการเลือกสื่อการเรียนการสอนสำหรับนำมาใช้ประกอบการสอนเพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ ผู้สอนควรจัดหาและเลือกสื่อการเรียนการสอนให้เหมาะสมกับวัตถุประสงค์ของการเรียน
โดยผู้สอนต้องมีความรู้ความเข้าใจในการจัดหาสื่อ
และรู้หลักการเลือกสื่อการเรียนการสอน 😃
นางสาวสุพรรณี เทียนทอง
รหัสนักศึกษา 570210084
Sec.2
ผู้จัดทำ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น